วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทศการประเภณี

เทศกาลประเพณี article
งานผ้อต่อ


    สำหรับประเพณีนี้เป็นประเพณีที่เป็นเรื่องความเชื่อของจีนที่ว่า ในวันที่ 15 ของเดือน 7 ของจีน นับเป็นวันครึ่งปีตามคตินิยมของจีนเป็นวันที่วิญญาณจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับมาเยี่ยมบ้านญาติพี่น้อง จึงได้มีการบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ ตามบ้านเรือนจะตกแต่งแท่นบูชาอย่างสวยงามพร้อมทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องกงเต็ก ส่วนดวงวิญญาณที่ไม่มีญาติ แต่ละบ้านก็จะจัดแท่นบูชาพร้อมทั้งอาหารคาวหวานไว้ที่หลังบ้านนอกจากนี้แล้วตามศาลเจ้าต่างๆในเกาะภูเก็ตจะเต็มไปด้วยขนมและผลไม้ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย ล้วนแต่แต่ได้รับการประดับตกแต่งมาเป็นอย่างดี ผลไม้บางอย่างแกะสลักอย่างสวยงาม เป็นที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่อยู่ในบรรยากาศของพิธีนี้ยิ่งนัก ประเพณีนี้จัดยิ่งใหญ่ทุกปี ที่บริเวณซอยโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ถนนตะกั่วทุ่ง ตัดถนนภูเก็ต ทางไปสะพานหิน


    เครื่องที่นำมาบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

 


 
 งานท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร
ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน

                                                             
เทศกาลอาหารทะเล
จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ
           
เทศกาลกินเจ
กำหนดจัดในวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกินผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดปะทัดตลอดสาย
ประเพณีกินเจนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไป

งานประเพณีปล่อยเต่า
ตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

งานประเพณีลอยเรือชาวเล
จะมีพิธีในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวและบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า “รำรองเง็ง” นั่นเอง

                                       
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต
ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
                                                                                  
 
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน
เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดในหานเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น